ประวัติคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

ประวัติคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2502 สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เริ่มต้นได้จัดตั้งเป็น โรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “เทคนิคไทย-เยอรมัน” ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2507 โรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ ซึ่งในปี พ.ศ. 2512 โรงเรียนเทคนิคไทย-เยอรมัน (Thai-German Technical Teacher College: TGTTC) ได้ดำเนินการจัดตั้งแผนกวิชา จำนวน 2 แผนก ได้แก่ แผนกวิธีกล และ แผนกวิธีไฟฟ้า ต่อมาเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2514 ได้มีการร่วมกันจัดตั้ง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี วิทยาลัยโทรคมนาคม นนทบุรี และวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ ใช้ชื่อว่า “สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ศูนย์พระนครเหนือ” โดยมีการจัดตั้งส่วนงานของ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ และจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) สาขาไฟฟ้าและสาขาเครื่องกล เป็นรุ่นแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2517 มีพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ศูนย์พระนครเหนือ โดยจัดตั้งเป็น 2 คณะ ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ ต่อมาในป􀅘 พ.ศ. 2522 ภายหลังจากที่มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้เปลี่ยนคำว่า “ศูนย์พระนครเหนือ เป็น “วิทยาเขตพระนครเหนือ” ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2529 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า แยกออกเป็นสถาบันอุดมศึกษา 3 แห่ง ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2531 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหน่วยงานในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ ซึ่งคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม จนถึงทุกวันนี้

จุดเริ่มต้นของการจัดการศึกษาภายในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ (ไทย-เยอรมัน) ได้จัดตั้งแผนกวิชาขึ้น 2 แผนก คือ แผนกวิธีกล และ แผนกวิธีไฟฟ้า ภายในหน่วยงาน ซึ่งเรียกชื่อในขณะนั้นว่า Thai-German Technical Teacher College (TGTTC) เปิดสอนหลักสูตรแผนกวิธีกล Methodical Mechanical Technician (TM) หลักสูตรแผนกวิธีไฟฟ้า Methodical Electrical Technician (TE) เพื่อผลิตครูช่างสอนทฤษฎี โดยเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกจากผู้ที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ หรือปัจจุบันเรียกว่า ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

ในปี พ.ศ. 2514 ได้แต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะ กสิภาร์ ให้ดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ (คนแรก) เปิดสอนระดับปริญญาตรี 2 ปี หลักสูตร ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) ภาคปกติ ที่ศึกษาต่อจากระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในสาขาเครื่องกล (TTM) และสาขาไฟฟ้า (TTE) ซึ่งเป็น หลักสูตรแรกของประเทศไทย ที่ผลิต “ครูช่าง”

ในปี พ.ศ. 2515 เปิดสอนหลักสูตรครูช่างสอนปฏิบัติ ในโรงฝึกงาน ได้แก่ ครูปฏิบัติวิธีกล (WTM) และครูปฏิบัติวิธีไฟฟ้า (WTE) กระบวนการเรียนการสอนที่นำมาใช้ในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมในช่วงนั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การจูงใจ (Motivation) การให้ข้อมูล (Information) การนำไปประยุกต์ใช้ (Application) และการตรวจวัดความก้าวหน้า (Progress) เรียกสั้น ๆ ว่า “MIAP” เป็นกระบวนการการเรียนรู้ ที่นำมาใช้ในการฝึกประสบการณ์การสอนของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

ในปี พ.ศ. 2517 เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (ค.อ.ม.) สาขาเครื่องกล (MTM) เป็นรุ่นแรก

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2518 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ ได้จัดพิธีเปิดอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการและประลอง อย่างเป็นทางการ มีการนำวิธีคิดอย่างเป็นระบบ System Thinking รวมทั้ง การวิเคราะห์ข่ายงาน Network Analysis มาเผยแพร่ให้กับผู้ที่จะเข้าเรียนในระดับปริญญาโท

ในปี พ.ศ. 2519 เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (ค.อ.ม.) สาขาไฟฟ้า (MTE) เป็นรุ่นแรก

ในปี พ.ศ. 2521 ได้ปรับเปลี่ยนชื่อหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาเครื่องกล และสาขาไฟฟ้า เป็น สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล และสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

ในปี พ.ศ. 2522 มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนคร โดยคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ แบ่งหน่วยงานออกเป็น 1) สำนักงานเลขานุการ 2) ภาควิชาคณิตศาสตร์ 3) ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล 4) ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า 5) ภาควิชาภาษาและสังคม 6) ภาควิชาวิทยาศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2523 ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่องแบ่งส่วนราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ เพื่อจัดตั้ง ภาควิชาครุศาสตร์โยธา ในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2524 เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) สาขาวิศวกรรมโยธา (TC) เป็นรุ่นแรก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ กับ กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามข้อตกลงโครงการพัฒนาอาจารย์ ผู้บริหาร และเทคโนโลยีทางการศึกษา สำหรับการศึกษาวิชาชีพ ช่างอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาครูอุตสาหกรรมศิลป์ ในหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (ค.อ.ม.) สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา (MET) เป็นรุ่นแรก

ในปี พ.ศ. 2526 ได้แต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.บรรเลง ศรนิล ให้ดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ (คนที่ 2)

ในปี พ.ศ. 2528 ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่องแบ่งส่วนราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เพื่อจัดตั้ง ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี ในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2529 ได้แต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไพศาล หุ่นแก้ว ให้ดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ (คนที่ 3) และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในโครงการพัฒนาครูประจำการ สาขาช่างอุตสาหกรรม หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล (TTM) วิศวกรรมไฟฟ้า (TTE) และวิศวกรรมโยธา (TTC)

ในปี พ.ศ. 2530 เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (ค.อ.ม.) สาขาวิชาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา (TEM) เป็นรุ่นแรก

ในปี พ.ศ. 2531 ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่องการแบ่งส่วนราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ เปลี่ยนชื่อเป็น คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม แบ่งส่วนราชการออกเป็น 1) สำนักงานคณบดี 2) ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล 3) ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า 4) ภาควิชาครุศาสตร์โยธา 5) ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี 6) ภาควิชาภาษาและสังคม และได้แต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ ให้ดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม (คนที่ 4)

ในปี พ.ศ. 2531 เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (ค.อ.ม) สาขาวิชาโยธา (MTC)

ในปี พ.ศ. 2532 ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย จัดตั้ง ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา และศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส สังกัดอยู่ในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

ในปี พ.ศ. 2534 เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต (ค.อ.ด.) สาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร (DRD) เป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก หลักสูตรแรกของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (TCT) หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี โดยรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. สาขาไฟฟ้ากำลัง และสาขาอิเล็กทรอนิกส์

ในปี พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง อาจารย์เสมอ เริงอนันต์ ให้ดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม (คนที่ 5)

ในปี พ.ศ. 2538 ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย จัดตั้ง ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา และเริ่มเปิดการเรียนการสอน หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (ค.อ.ม.) สาขาธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นรุ่นแรก ภายใต้โครงสร้างของภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษาชั่วคราว

ในปี พ.ศ. 2539 เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม) สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม (สอนเป็นภาษาอังกฤษ) เป็นรุ่นแรก ในภาควิชาภาษาและสังคม

ในปี พ.ศ. 2540 เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต (ค.อ.ด.) สาขาวิชาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา (DVTM) เป็นรุ่นแรก

ในปี พ.ศ. 2542 เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (ค.อ.ม) สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (MTCT) แขนงวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย และแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา เป็นรุ่นแรก

ในปี พ.ศ. 2543 ได้แต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.พิสิฐ เมธาภัทร ให้ดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม (คนที่ 6) และเปิดหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา และภาควิชาภาษาและสังคม ได้รับอนุมัติจัดตั้งเป็น คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ โดยให้บุคลากรทั้งหมดของภาควิชาภาษาและสังคมไปสังกัดคณะใหม่

ในปี พ.ศ. 2545 เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา (DTCT) เป็นรุ่นแรก

ในปี พ.ศ. 2546 เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิคส์ (TT) และสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ (TP) เป็นรุ่นแรก

ในปี พ.ศ. 2549 เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชาไฟฟ้าศึกษา (DTE) เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา (DET) เป็นรุ่นแรก เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาการสอนเทคนิคศึกษา (DPRD) เป็นรุ่นแรก และเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาการบริหารงานวิศวกรรมโยธาและระบบงาน (MCEM) เป็นรุ่นแรก

เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2550 จัดตั้งภาควิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

ในปี พ.ศ. 2551 แต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนาฤทธิ์ เศรษฐกุล ให้ดำรงตำแหน่ง คณบดี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม (คนที่ 7)

ในปี พ.ศ. 2552 เปลี่ยนจากหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต (ค.อ.ด.) เป็นหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา (DVTM)

ในปี พ.ศ. 2553 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารงานวิศวกรรมโยธาและงานระบบเปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการศึกษา (CEE) หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี เป็นรุ่นแรก

ในปี พ.ศ. 2556 เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการศึกษา (MCEE) เป็นรุ่นแรก

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2558 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้แบ่งส่วนราชการภายในของส่วนงานวิชาการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ให้มีศูนย์บูรณาการวิชาชีพครุศาสตร์อุตสาหกรรม มีฐานะเทียบเท่าภาควิชา และเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา (MICT) เป็นรุ่นแรก

ในปี พ.ศ. 2559 เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด) สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการศึกษา (DCEE) เป็นรุ่นแรก และเปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารเพื่อการศึกษา (DICT) เป็นรุ่นแรก และได้แต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ สถิรยากร ให้ดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม (คนที่ 8)

ในปี พ.ศ. 2561 เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและการศึกษา (TEE) หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี เป็นรุ่นแรก และเปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลศึกษา (DMEE) เป็นรุ่นแรก

ในปี พ.ศ. 2563 เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (ปร.ด) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและพลังงาน (E-DEEE) เป็นรุ่นแรก

ในปี พ.ศ. 2567 ได้แต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ อรรคทิมากูล ให้ดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม (คนที่ 9) จนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบันคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ประกอบด้วย 8 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สำนักงานคณบดี 2) ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล 3) ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า 4) ภาควิชาครุศาสตร์โยธา 5) ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา 6) ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยีและสารสนเทศ 7) ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา และ 8) ศูนย์บูรณาการวิชาชีพ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม โดยมุ่งผลิตบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาบัณฑิต และบัณฑิตศึกษาทางด้านการศึกษาและอุตสาหกรรม ให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติการ สำหรับการเรียนการสอนและ พัฒนานวัตกรรมทางวิศวกรรมและเทคโนโลยี ผลิตนักเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา นักวิจัย นักการศึกษา นักฝึกอบรมและผู้บริหารอาชีวศึกษา ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยี การศึกษา การบริหารการศึกษาและการอาชีวศึกษาที่มุ่งสู่การเป็นผู้นำในการพัฒนาประเทศ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมและการศึกษา บริการทางวิชาการด้านการพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน การฝึกอบรม การบริหารการศึกษา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ให้กับหน่วยงานภายนอกและชุมชนในท้องถิ่น ทำนุและบำรุงศิลปวัฒนธรรม และจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ที่มุ่งเน้นการปลูกฝัง และเสริมสร้างจริยธรรมและคุณธรรม แก่นักศึกษาให้เป็นพลเมืองที่ดี

ปรัชญาและวิสัยทัศน์

ปรัชญาและวิสัยทัศน์

ปรัชญา

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ยึดถือปรัชญาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ คือ “พัฒนาคน พัฒนานวัตกรรม พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”

ปรัชญาการศึกษา

วิชาการเด่น เน้นปฏิบัติการ ควบคู่จรรยาบรรณ มุ่งสู่สมรรถนะอาชีพ

ปณิธาน

มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถทางด้านการศึกษา วิศวกรรมและเทคโนโลยี เพื่อการสอนการถ่ายทอด การบริหารจัดการ และการพัฒนานวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตลอดจนมีสมรรถนะและจรรยาบรรณในวิชาชีพ                            

วิสัยทัศน์

เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อผลิตครูช่าง นักจัดการการศึกษา และวิศวกร ที่มีจรรยาบรรณ สร้างสรรค์นวัตกรรมและงานวิจัย มุ่งสู่สากล  

พันธกิจ

  1. ผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและอุตสาหกรรม
  2. วิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาและอุตสาหกรรม
  3. ฝึกอบรม และบริการวิชาการทางการศึกษาและอุตสาหกรรม
  4. อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และส่งเสริมระบบนิเวศทางการศึกษา          

อัตลักษณ์

บัณฑิตที่คิดเป็น ทำเป็น ถ่ายทอดเป็น

เอกลักษณ์

ต้นแบบครูช่าง สร้างสรรค์นวัตกรรม

คณะผู้บริหาร

คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์  อรรคทิมากูล 

email : somsak.a@fte.kmutnb.ac.th

ที่ปรึกษาคณบดีด้านต่างประเทศและกิจการพิเศษ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนาฤทธิ์ เศรษฐกุล

email : panarit.s@fte.kmutnb.ac.th

ที่ปรึกษาคณบดีด้านอาขีวศึกษาและสรรถนะอาชีพ

รองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ สถิรยากร

email : pairote.s@fte.kmutnb.ac.th

รองคณบดีฝ่ายบริหารและประกันคุณภาพการศึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สยาม แกมขุนทด

email : sayam.k@fte.kmutnb.ac.th

รองคณบดีฝ่ายวิชาการและมาตรฐานวิชาชีพ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤช สินธนะกุล

email : krich.s@fte.kmutnb.ac.th

รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต้องชนะ ทองทิพย์

email : tongchana.t@fte.kmutnb.ac.th

รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและสื่อสารองค์กร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรวิไล สุขมาก

email : pornwilai.s@fte.kmutnb.ac.th

ผู้บริหารภาควิชา/สำนักงาน

หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล

รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติวุฒิ ศุทธิวิโรจน์

Email : kittiwoot.s@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญรัตน์  น้อมพลกรัง 

email : thanyarat.n@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าสำนักงานคณบดี

นางสาวธัญญ์รวี ธนเมธีเวโรจน์

email : patcharee.a@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภานี น้อยยิ่ง

email : panee.ny@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยีและสารสนเทศ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวนันท์ แดงประเสริฐ

email : sawanan.d@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์โยธา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริศักดิ์ คงสมศักดิ์สกุล

email : sirisak.k@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา

รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวิชิต เชียรชนะ

email : chaiwichit.c@fte.kmutnb.ac.th

คณะกรรมการประจำส่วนงานวิชาการ

คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์  อรรคทิมากูล 

email : somsak.a@fte.kmutnb.ac.th

รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต้องชนะ ทองทิพย์

email : tongchana.t@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภานี น้อยยิ่ง

email :  panee.ny@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยีและสารสนเทศ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวนันท์ แดงประเสริฐ

email : sawanan.d@fte.kmutnb.ac.th

ผู้แทนประเภทคณาจารย์ประจำ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณชัย วรรณสวัสดิ์

email : wannachai.w@fte.kmutnb.ac.th

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

นางสาวเพ็ญพิมล ลือขจร

e-mail : penpimol@gmail.com

ผู้ช่วยเลขานุการ

นางภคสมณฑ์ อุชชิน

e-mail : pakasamon.u@fte.kmutnb.ac.th

รองคณบดีฝ่ายบริหารและประกันคุณภาพการศึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สยาม แกมขุนทด

email : sayam.k@fte.kmutnb.ac.th

รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและสื่อสารองค์กร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรวิไล สุขมาก

email : pornwilai.s@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์โยธา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริศักดิ์ คงสมศักดิ์สกุล

email : sirisak.k@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา

รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวิชิต เชียรชนะ

email : chaiwichit.c@fte.kmutnb.ac.th

ผู้แทนประเภทคณาจารย์ประจำ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชัญญา โปษยะนันทน์

email : suchanya.p@fte.kmutnb.ac.th

เลขานุการ

คุณเมลดา กลิ่นมาลี 

email : merada.k@fte.kmutnb.ac.th

รองคณบดีฝ่ายวิชาการและมาตรฐานวิชาชีพ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤช สินธนะกุล

email : krich.s@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล

รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติวุฒิ ศุทธิวิโรจน์

Email : kittiwoot.s@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญรัตน์  น้อมพลกรัง 

email : thanyarat.n@fte.kmutnb.ac.th

ผู้แทนประเภทคณาจารย์ประจำ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยยพล ธงชัยสุรัชต์กูล

email : chaiyapon.t@fte.kmutnb.ac.th

ผู้แทนประเภทคณาจารย์ประจำ

อาจารย์นฤเบศ คำมงคล

email : naruebet.k@fte.kmutnb.ac.th

ผู้ช่วยเลขานุการ

นางสาวธัญญ์รวี ธนเมธีเวโรจน์

e-mail : patcharee.a@fte.kmutnb.ac.th

โครงสร้างบริหาร
อาคารเรียน
ห้องเรียน
ห้องปฏิบัติการ
สถานที่ตั้ง

ที่ตั้ง :

อาคาร 52 และอาคาร 44

1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800 

โทร. 0-2555-2000 ต่อ 3273, 3271, 3272, 3221 

โทรสาร. 0-2587-6287,0-2585-7360

e-mail : teched@fte.kmutnb.ac.th