

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2512-2522
เมื่อโครงการให้ความช่วยเหลือวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ โครงการเลขที่ 58.2023.8 (เดิมเลขที่ FE 40) จากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันจะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2512
รัฐบาลเยอรมันได้ส่งเจ้าหน้าที่มา 2 คน คือ Professor Rattay และ Dr.Schnuer เพื่อพิจารณาร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทย และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะสนับสนุนโครงการผลิตครูช่าง เนื่องจากโรงเรียนช่างกลและวิทยาลัยเทคนิคยังขาดครูช่างที่มีคุณวุฒิสูงและมีคุณภาพอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในปีการศึกษา 2512 วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือจึงได้ จัดตั้งแผนกวิชาขึ้น 2 แผนก คือ แผนกวิธีกล และวิธีไฟฟ้า ภายในหน่วยงานซึ่งเรียกชี่อในขณะนั้นว่า Thai-German Technical Teacher College (TGTTC) ส่วนรายละเอียดการดำเนินการขอความช่วยเหลือนั้น จะต้องผ่านหลายขั้นตอน ข้อตกลงความช่วยเหลือจึงมีผลเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2514 เป็นโครงการเลขที่ FE 1174 ต่อมาเปลี่ยนเป็นเลขที่ 64.2125.9
ในเดือนกรกฎาคม 2512 ได้เริ่มรับนักศึกษารุ่นแรก สำหรับแผนกวิธีกล จำนวน 25 คน แผนกวิธีไฟฟ้า จำนวน 25 คน โดยเรียนที่ตึกหน้า (ตึก 12) ในภาคเรียนที่ 2 ได้มากั้นห้องเรียน 2 ห้อง ที่โรงฝึกงาน 32 ชั้นล่าง อยู่ร่วมกับ ME.Lab ส่วนข้างบนเป็น shop DG ซึ่งในปัจจุบันเป็น Lap ของ MHT
ในปีการศึกษา 2513 ได้สร้างห้องเรียนเพิ่มขั้นอีก 2 ห้อง ที่ชั้นล่างของโรงฝึกงาน 32 นั้น เพราะได้รับรุ่น 2 อีก 2 ห้อง
ในปีการศึกษา 2514 เนื่องจากมีนักศึกษา 6 ห้อง และไม่มี shop กับ Lap เป็นของตนเอง โดยจัดให้เป็นห้องเรียน Shop และ Lap ของ TE อาจารย์ก็เริ่มมีมากขึ้น Mr.Höhnle ซึ่งเป็นผู้เริ่มสร้างชุดทดลอง Electronic Lab ร่วมกับอาจารย์และนักศึกษาไทยเป็นครั้งแรก ห้องประลองอีกห้องก็คือ Electrical Machine Lab ซึ่ง Mr.Hoffmann เป็นผู้ติดตั้ง สำหรับแผนกวิธีกลยังไม่มี shop ของตนเอง ยังต้องไปอาศัย shop ของช่างกลโรงงาน และเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ รัฐบาลเยอรมันเริ่มส่งมาให้แล้ว ดังนั้นจึงได้รื้อฝาที่กั้นไว้ในโรงฝึกงาน 32 ซึ่งเดิมใช้เป็นห้องเรียนออก แล้วเริ่มติดตั้ง TM shop ในภาคเรียนที่ 2 ของปี 2514
ในปีการศึกษา 2515 เพื่อให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตของอาจารย์ดีขึ้น นักศึกษาส่วนหนึ่งจึงได้ขึ้นไปเรียนหน้าตึก แต่ส่วนหนึ่งก็ยังเรียนที่โรงอาหารเก่า shop TE เก่า (โรงงาน 34) และ shop TM เก่า (โรงงาน 32) ตามเดิม ในระดับปริญญาได้รับนักศึกษาเพิ่มขึ้น 2 ชั้น ชั้นหนึ่งเป็นครูปฏิบัติวิธีกล (WTM) ส่วนอีกชั้นเป็นครูปฏิบัติวิธีไฟฟ้า (WTE) โดยมีจุดประสงค์เพื่อผลิตครูสอนปฏิบัติในโรงฝึกงาน หลักสูตรเน้นหนักในการเรียนการสอน Shop และ Lab เฉลี่ยแล้วสัปดาห์ละ 3 วัน ส่วนพวกเดิมมีจุดประสงค์จะผลิตครูสอนทฤษฎี ซึ่งเรียกว่าครูทฤษฎีวิธีกล (TTM) และครูทฤษฎีวิธีไฟฟ้า (TTE) นักศึกษาพวกนี้จะต้องเรียนวิชา 4 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่ม A เรียนวิชาเทคนิค เพื่อเรียนเนื้อหาวิชาให้รู้ What to teach รายวิชาจะเป็นเช่นเดียวกับวิชาในระดับช่าวเทคนิค แต่จะต้องเรียนให้ลึกซึ้งและศึกษาปัญหาต่าง ๆ
- กลุ่ม B เรียนวิชาทางการศึกษา เพื่อรู้ How to teach ในภาคแรกจะต้องศึกษาปัญหา pedagogic และ didactic ทั่วไป ในภาคที่ 2-4 จะต้องประยุกต์ใช้ปัญหา didactic และอุปกรณ์ช่วยสอนต่าง ๆ
- กลุ่ม C เป็นวิชาประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนจากกลุ่ม A และ B ในภาคเรียนที่ 1 นักศึกษาจะต้องเข้าไปสังเกตในชั้น TM และ TE ในภาคที่ 2-3 จะฝึกสอนในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ในภาคที่ 4 จะต้องสอนทั้งเรื่องพร้อมทั้งมีสื่อการเรียนประกอบอีกด้วย
- กลุ่ม 4 เป็นวิชาประเภทประสบการณ์วิชาเทคนิค นักศึกษาจะต้องเข้า Shop และ Lab เป็นเวลา 2 วันต่อสัปดาห์ตลอด 4 ภาคการศึกษาเนื่องจากคณะยังไม่มีตึกเรียน ตึก Shop และ Lab ที่เป็นของตนเอง อุปกรณ์ต่าง ๆ จากเยอรมันเป็นจำนวนมากก็เริ่มมาถึงโดยไม่มีที่ตั้ง และตามข้อตกลงฝ่ายไทยจะต้องเป็นผู้จัดหาสถานที่ จึงได้จัดงบประมาณก่อสร้างที่ได้มาสร้างอาคารเรียน 6 ชั้น ช่วงแรกจากริมคลองมาถึงห้อง Resources Centre (ห้อง 104) ในราคา 2.9 ล้านบาท และสร้างโรงฝึกงาน โรงประลอง 3 ชั้นอีก 1 หลัง ซึ่ง TM Shop ได้ย้ายเข้าไปอยู่ชั้นล่างระหว่างภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2516 และได้เข้ามาใช้อาคารเรียน 6 ชั้น ช่วงแรกในภาคเรียนที่ 2 ปี 2516
ในปีการศึกษา 2516 ได้รับ WTM และ WTE เป็นรุ่นที่ 2 WTM มีวิชาเลือกสาหรับ 3 สาขา คือ ครูปฏิบัติช่างกลโรงงาน ช่างยนต์ และช่างท่อและประสาน ส่วน WTE มีให้เลือก 2 สาขา คือ ครูปฏิบัติช่างไฟฟ้าและอิเลคโทรนิคส์ ดังนั้นคณะฯ จึงได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ผลิตครูช่างประเภทเดียวเท่านั้น คือเป็น Technical teachers ซึ่งมีความสามารถที่จะสอนได้ทั้งวิชาทฤษฎี
และปฏิบัติ หลักสูตรครูปฏิบัติคือ WTM และ WTE จึงมีผู้ที่เรียนจบไปเพียงรุ่นเดียวเท่านั้น ส่วนครูปฏิบัติ รุ่น 2 ได้เรียนหลักสูตรเดิมในภาคเรียนที่ 1/2516 เท่านั้น จากภาคที่ 2/2516 ก็ได้เปลี่ยนมาเรียนตามหลักสูตรใหม่ สำหรับหลักสูตรที่ปรับปรุงใหม่นี้ ในระดับ ปวส. 2 ปีแรก ไม่เปลี่ยนมากนัก เพียงแต่ปรับเนื้อหาวิชา จำนวนชั่วโมงบางรายวิชาเท่านั้น ส่วนหลักการก็เป็นเช่นเดิมคือเรียนทฤษฎีสัปดาห์ละ 3 วัน วิชาที่เรียนมีวิชาสามัญ วิชาพื้นฐาน วิศวกรรม และวิชาเฉพาะที่จะไปสอนจริงในโรงเรียนช่างหรือวิทยาลัยเทคนิคต่าง ๆ อีก 2 วัน จะต้องฝึกภาคปฏิบัติและทาการทดลองเพื่อให้มีทักษะมากขึ้น และสามารถสาธิตและอธิบายทฤษฎีต่าง ๆ โดยทางปฏิบัติได้ในระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี ต่อจาก ปวส. แบ่งออกเป็น 2 สาขาวิชา คือ เครื่องกล และไฟฟ้า
ในปี 2520 สภาสถาบันได้มีมติให้เรียกชื่อใหม่เป็นสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล และวิศวกรรมไฟฟ้าเนื่องจากคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) ได้รับรองผู้จบปริญญาตรี คอบ. จากคณะฯ ตั้งแต่ปี 2518 ให้เป็นภาคีวิศวกรได้ ในระดับนี้นักศึกษาจะต้องเรียนดังต่อไปนี้
- วิชาพื้นฐาน
- วิชาทฤษฎีเทคโนโลยี ซึ่งเป็นวิชาประเภทวิศวกรรมและวิชาเฉพาะที่จะไปสอนจริง โดยเรียนให้ละเอียดและสูงยิ่งขึ้น ซึ่งหลักการนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปจากหลักสูตรเดิม นอกจากนี้จะต้องเรียนรู้วิธีสอนเฉพาะเหล่านี้อีกด้วย
- วิชาปฏิบัติ และทดลองเทคโนโลยี
- วิชาทฤษฎีการศึกษา ซึ่งได้ปรับปรุงจากหลักสูตรเดิม โดยแยกเป็นรายวิชาให้เพิ่ได้ชัด ซึ่งเรียนภาคเรียนละ 2 วิชา ที่จะไปใช้จริง ๆ เท่านั้น
- วิชาปฏิบัติการศึกษา ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงใหม่ และหลังจากได้ใช้แล้วหลายปีปรากฎว่าได้ผลดีมาก และเป็นการฝึกสอนที่มีหลักการและวิธีการที่ก้าวหน้ามาก อาจารย์ของคณะฯ ได้เสนอบทความวิธีการสอนนี้ในการประชุมทั้งในประเทศและการประชุมนานาชาติในต่างประเทศ ซึ่งก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
- Special Projects สำหรับวิชาปฏิบัติการศึกษา หรือการฝึกสอน เป็นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูช่าง ผู้ที่ได้เริ่มพัฒนาและนำมาใช้ก็คือ Mr.Wagener และ Mr.Hernanns โดยใช้ปรัชญาการศึกษาประสบการณ์วิชาชีพครู ดังนั้นคณะฯ จึงจัดให้เป็นการฝึกสอนตลอด 4 ภาคการศึกษา
ในปี 2523 ได้ก่อตั้งภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยีและเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา ขึ้นเป็นรุ่นที่ 1 นักศึกษาจำนวน 21 คน
ในปี 2530 ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา
ในปี 2534 ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ รุ่นแรก จำนวน 20 คน และถือกำเนิด ห้อง 205 ขึ้น เพื่อใช้เป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ห้องแรกของหลักสูตร TCT โดยมีไมโครคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ TWC รุ่น IBMPC ใช้ CPU Intel 80386SX-16MHz จำนวน 24 เครื่อง มีความจุ RAM เพียง 256 kB ติดตั้งเครื่องอ่านฟล๊อปปี้ดิสค์ขนาด 5.25 นิ้ว ใช้จอภาพแบบ Mono chrome ขนาด 14 นิ้ว
ปรัชญาและวิสัยทัศน์
ปรัชญา
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ยึดถือปรัชญาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ คือ “พัฒนาคน พัฒนานวัตกรรม พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
ปรัชญาการศึกษา
วิชาการเด่น เน้นปฏิบัติการ ควบคู่จรรยาบรรณ มุ่งสู่สมรรถนะอาชีพ
ปณิธาน
มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถทางด้านการศึกษา วิศวกรรมและเทคโนโลยี เพื่อการสอนการถ่ายทอด การบริหารจัดการ และการพัฒนานวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตลอดจนมีสมรรถนะและจรรยาบรรณในวิชาชีพ
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อผลิตครูช่าง นักจัดการการศึกษา และวิศวกร ที่มีจรรยาบรรณ สร้างสรรค์นวัตกรรมและงานวิจัย มุ่งสู่สากล
พันธกิจ
- ผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและอุตสาหกรรม
- วิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาและอุตสาหกรรม
- ฝึกอบรม และบริการวิชาการทางการศึกษาและอุตสาหกรรม
- อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และส่งเสริมระบบนิเวศทางการศึกษา
อัตลักษณ์
บัณฑิตที่คิดเป็น ทำเป็น ถ่ายทอดเป็น
เอกลักษณ์
ต้นแบบครูช่าง สร้างสรรค์นวัตกรรม

คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ อรรคทิมากูล
email : somsak.a@fte.kmutnb.ac.th

ที่ปรึกษาคณบดีด้านต่างประเทศและกิจการพิเศษ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนาฤทธิ์ เศรษฐกุล
email : panarit.s@fte.kmutnb.ac.th

ที่ปรึกษาคณบดีด้านอาขีวศึกษาและสรรถนะอาชีพ
รองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ สถิรยากร
email : pairote.s@fte.kmutnb.ac.th

รองคณบดีฝ่ายบริหารและประกันคุณภาพการศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สยาม แกมขุนทด
email : sayam.k@fte.kmutnb.ac.th

รองคณบดีฝ่ายวิชาการและมาตรฐานวิชาชีพ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤช สินธนะกุล
email : krich.s@fte.kmutnb.ac.th

รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต้องชนะ ทองทิพย์
email : tongchana.t@fte.kmutnb.ac.th

รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและสื่อสารองค์กร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรวิไล สุขมาก
email : pornwilai.s@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล
รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติวุฒิ ศุทธิวิโรจน์
Email : kittiwoot.s@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญรัตน์ น้อมพลกรัง
email : thanyarat.n@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าสำนักงานคณบดี
นางสาวธัญญ์รวี ธนเมธีเวโรจน์
email : patcharee.a@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภานี น้อยยิ่ง
email : panee.ny@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยีและสารสนเทศ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวนันท์ แดงประเสริฐ
email : sawanan.d@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์โยธา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริศักดิ์ คงสมศักดิ์สกุล
email : sirisak.k@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวิชิต เชียรชนะ
email : chaiwichit.c@fte.kmutnb.ac.th

คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ อรรคทิมากูล
email : somsak.a@fte.kmutnb.ac.th

รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต้องชนะ ทองทิพย์
email : tongchana.t@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภานี น้อยยิ่ง
email : panee.ny@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยีและสารสนเทศ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวนันท์ แดงประเสริฐ
email : sawanan.d@fte.kmutnb.ac.th

ผู้แทนประเภทคณาจารย์ประจำ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณชัย วรรณสวัสดิ์
email : wannachai.w@fte.kmutnb.ac.th

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
นางสาวเพ็ญพิมล ลือขจร
e-mail : penpimol@gmail.com

ผู้ช่วยเลขานุการ
นางภคสมณฑ์ อุชชิน
e-mail : pakasamon.u@fte.kmutnb.ac.th

รองคณบดีฝ่ายบริหารและประกันคุณภาพการศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สยาม แกมขุนทด
email : sayam.k@fte.kmutnb.ac.th

รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและสื่อสารองค์กร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรวิไล สุขมาก
email : pornwilai.s@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์โยธา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริศักดิ์ คงสมศักดิ์สกุล
email : sirisak.k@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวิชิต เชียรชนะ
email : chaiwichit.c@fte.kmutnb.ac.th

ผู้แทนประเภทคณาจารย์ประจำ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชัญญา โปษยะนันทน์
email : suchanya.p@fte.kmutnb.ac.th

เลขานุการ
คุณเมลดา กลิ่นมาลี
email : merada.k@fte.kmutnb.ac.th

รองคณบดีฝ่ายวิชาการและมาตรฐานวิชาชีพ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤช สินธนะกุล
email : krich.s@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล
รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติวุฒิ ศุทธิวิโรจน์
Email : kittiwoot.s@fte.kmutnb.ac.th

หัวหน้าภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญรัตน์ น้อมพลกรัง
email : thanyarat.n@fte.kmutnb.ac.th

ผู้แทนประเภทคณาจารย์ประจำ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยยพล ธงชัยสุรัชต์กูล
email : chaiyapon.t@fte.kmutnb.ac.th

ผู้แทนประเภทคณาจารย์ประจำ
อาจารย์นฤเบศ คำมงคล
email : naruebet.k@fte.kmutnb.ac.th

ผู้ช่วยเลขานุการ
นางสาวธัญญ์รวี ธนเมธีเวโรจน์
e-mail : patcharee.a@fte.kmutnb.ac.th




























ที่ตั้ง :
อาคาร 52 และอาคาร 44
1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
โทร. 0-2555-2000 ต่อ 3273, 3271, 3272, 3221
โทรสาร. 0-2587-6287,0-2585-7360
e-mail : teched@fte.kmutnb.ac.th