ที่ปรึกษาคณบดีด้านวิชาการและกิจการต่างประเทศ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นผู้แทนสถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทยเข้าร่วมประชุมกับ Asian Welding Federation (AWF)

02AWF_3535
IMG_3534
IMG_3550
01AWF_100927
02AWF_3535 IMG_3534 IMG_3550 01AWF_100927

ประเทศไทยโดยสถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทย (WIT) ได้เข้าเป็นสมาชิกของ Asian Welding Federation (AWF) ในปี พ.ศ. 2566 โดยกำหนดให้มีการประชุมของประเทศสมาชิกขึ้นปีละ 2 ครั้ง กับประเทศสมาชิกในทวีปเอเชีย ได้แก่ Japan, China, Korea, India,  Indonesia, Malaysia, Singapore, Philippines, Vietnam, Myanmar, Mongolia และองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น JWES, JIS เป็นต้น

      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนาฤทธิ์ เศรษฐกุล ที่ปรึกษาคณบดีด้านวิชาการและกิจการต่างประเทศ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และรักษาการแทนหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) สถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทย ได้เป็นผู้แทนของสถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทย เดินทางไปร่วมประชุมสามัญประจำปีของสหพันธ์การเชื่อมแห่งเอเชีย “The 40th AWF Governing Council & Task Force’s Meeting” ณ INTEX OSAJA ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 23-28 เมษายน 2567 ซึ่งในวันที่ 24 เมษายน 2567 ผศ.ดร.พนาฤทธิ์ เศรษฐกุล ได้นำเสนอบทความเรื่อง “The implementation of the Integrated Program for the Master of Engineering in Welding Engineering Technology, KMUTNB complies with the International Welding Engineer (IWE), IIW responding to the needs of Thai Industry” ในการประชุม 15th Asian Welding Technology & its Application Forum 2024, 13.00–15.00 น. ด้วย

         เทคโนโลยีการเชื่อมเป็นศาสตร์และวิชาชีพที่สำคัญและจำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมทุกกลุ่ม (Clusters) ของประเทศอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยสถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทย (WIT) ได้รับการรับรองจากสถาบันการเชื่อมสากล (International Institute of Welding-IIW) ในปี พ.ศ.2547 ให้สถานะเป็น Authorized Nominated Body (ANB) Thailand และได้นำหลักสูตรของสถาบันการเชื่อมสากล ให้ศูนย์ฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองจากสถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทย (Approved Training Body-ATB) ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนทั้งหมด 7 ศูนย์ โดยสถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการสอบตามข้อกำหนด (Guidelines) ของสถาบันการเชื่อมสากล และออกใบประกาศนียบัตร (Diploma) วิชาชีพช่างเชื่อม (IW) ไปถึงระดับวิศวกรการเชื่อมสากล (IWE) และผู้ตรวสอบงานเชื่อมสากล (IWIP) ได้ในปัจจุบัน แต่สถาบันการเชื่อมสากลยังมีหลักสูตรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตัวอย่าง เช่น ผู้ออกแบบโครงสร้างการเชื่อมสากล (IWSD),  ผู้ตรวสอบโรงงานสากล (III) (ระบบรางรถไฟ, งานโครงสร้าง, อุปกรณ์นิวเคลียร์, ท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ, และ หม้อไอน้ำ ฯลฯ), ผู้ควบคุมการเชื่อมด้วยหุ่นยนต์สากล (IMORWP) และวิศวกรเครื่องพิมพ์หรือขึ้นรูปโลหะ 3 มิติ (AD) ซึ่งใบประกาศนียบัตร (Diploma) นี้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก และในปัจจุบันสถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทย ได้เข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์การเชื่อมแห่งเอเชีย (AWF) เพื่อสร้างความร่วมมือ และยกระดับมาตรฐานด้านงานเชื่อม รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรด้านงานเชื่อมให้กับอุตสาหกรรมในภาคพื้นเอเชียโดยมีมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเชื่อมโยงเข้ากับมาตรฐานสากลได้


รูปที่ 1 สถานภาพของสถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทยในเวทีระดับสากล (ตัวอักษรสีแดง) เป็นสมาชิกของสถาบันการเชื่อมสากล (IIW) และสหพันธ์การเชื่อมแห่งเอเชีย (AWF)